Menu
ตระกร้าสินค้า 0

พระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Posted by นายกล้องฟิล์ม กล้องฟิล์มดีดี on



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 ทรงโปรดปราน เกี่ยวกับการถ่ายภาพอย่างมาก ตามที่ประชาชนทั่วไปจะเห็นภาพของพระองค์ห้อยกล้องไว้ที่พระศอเสมอ

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเริ่มถ่ายภาพเมื่อมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษ เท่านั้น สมเด็จพระราชชนนีทรงได้ซื้อกล้องถ่ายรูป Coronet Midget พระราชทานให้ พระองค์ทรงศึกษาวิธีการถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง และถามจากผู้รู้ ผู้ชำนาญ ในอดีตนั้น อุปกรณ์การถ่ายภาพไม่เจริญเท่าปัจจุบัน ยังคงเป็นกล้องฟิล์ม ที่ไม่มีระบบอัตโนมัติ เวลาจะถ่ายภาพแต่ละครั้งต้องปรับรูรับแสง ตั้งความไวของชัตเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากมาก สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจการถ่ายภาพ  

 

แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาจนสามารถใช้กล้องได้อย่างชำนาญ ต่อมาจนถึงปัจจุบันพระองค์ทรง ก็ได้ใช้กล้องถ่ายรูป อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อ อ่าทิเช่น กล้องที่ผลิตในเยอรมัน รัสเซีย และญี่ปุ่น

 

           ในช่วงเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงพระยศเป็นพระอนุชา ทรงถ่ายภาพรามเกียรติ์ที่ผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานให้พิมพ์ลงในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังทำหน้าที่เสมือนช่างภาพส่วนพระองค์ในขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลอีกด้วย เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ทรงโปรดถ่ายภาพสิ่งต่าง ๆ เป็นประจำ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์จะปรากฏบนปกนิตยสารต่าง ๆ เสมอ เช่น วารสารแสตนดาร์ดของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร

 พระองค์เคยมีพระราชดำรัสอย่างพระอารมณ์ขันแก่คนสนิทว่า

           “ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์แสตนดาร์ด ได้เงินเดือนเดือนละ 100 บาท ตั้งหลายปี มาแล้ว จนบัดนี้ก็เห็นเขายังไม่ขึ้นเงินเดือนให้สักที เขาก็คงถวายไว้เดือนละ 100 บาทอยู่เรื่อยมา”

        อย่างที่ได้เรียนไปแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่างมาก ทรงสะสมตำราเกี่ยวกับการถ่ายภาพไว้เป็นจำนวนมาก และ พระองค์ทรงศึกษาจากตำรา เหล่านั้น และทรงคิดค้นหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการถ่ายภาพอยู่เสมอ อาทิอย่างเช่น ทรงเคยนำแว่นกรองแสงชนิดพิเศษติดหน้าเลนส์ ลักษณะของแว่นกรองแสงเป็นแผ่นใส ส่วนบนเป็นสีฟ้า ส่วนล่างเป็นสีแสด และเมื่อถ่ายภาพ ผลที่ได้ คือส่วนล่างเป็นสีธรรมชาติ ส่วนบนจะได้สีฟ้า และส่วนล่างจะได้สีแสด พระองค์ทรงเคยใช้แว่นกรองแสงนี้ทดลองฉายพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทำให้สีของสิ่งต่าง ๆ ในภาพ เช่น ชุดฉลองพระองค์ พระเก้าอี้ พระวิสูตร พรม เป็นสีสอดคล้องสัมพันธ์เข้าเป็นสีชุดเดียวกัน พระองค์ทรงประดิษฐ์แว่นกรองพิเศษนี้ ในขณะนั้น ยังไม่มีบริษัทใดผลิตแว่นกรองแสงเพื่อใช้ในการถ่ายภาพมาก่อน

 

          นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ยังทรงเชี่ยวชาญกระบวนการในห้องมืด เช่นการล้างฟิล์มและการอัดขยายภาพทั้งขาวดำและสี ทรงเคยจัดทำห้องมือที่บริเวณชั้นล่างของตึกที่ทำการสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อสำหรับล้างฟิล์มและขยายภาพสี โดยใช้เครื่องล้างและเครื่องขยายภาพสีอัตโนมัติ แบบที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมาตรฐานทั่วไป พระองค์ทรงรู้เรื่องทฤษฎีสีเป็นอย่างดี และทรงศึกษาการควบคุมเครื่องล้างและขยายภาพสีอัตโนมัติ จนสามารถอัดขยายภาพสีและแก้สีภาพต่างๆด้วยพระองค์เอง

ด้วยความสนพระราชหฤทัยในเรื่องการถ่ายภาพ และพระปรีชาสามารถในการถ่ายภาพนี้ ประกอบกับมีพระราชประสงค์จะทรงใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายอย่างกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งส่วนช่างภาพส่วนพระองค์ขึ้นในสำนักพระราชวัง เพื่อทำหน้าที่บันทึกภาพล้างอัดขยายภาพ อนุรักษ์ภาพ และให้บริการภาพแก่ผู้ที่มาติดต่อขอไปใช้ประโยชน์ต่างๆ


ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9  ซึ่งมีจำนวนมากมาย แต่สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท หลักๆ ได้แก่ ภาพแนวจิตรศิลป์ และภาพแสดงพระปณิธานในการพัฒนาประเทศ

 

        ในวาระโอกาสสำคัญๆต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ส่วนหนึ่งไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสได้ชื่นชม พระปรีชาสามารถในด้านการถ่ายภาพของพระองค์ท่าน

 

 

       พระปรีชาของพระองค์ท่าน สามารถด้านการถ่ายภาพได้ ขจรขจาย ไปทั่ววงการถ่ายภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยเหตุนี้  ในปี พ.ศ. 2514  ทางสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย จึงได้ทูลเกล้าฯถวายเข็มทองศิลปะการถ่ายภาพแด่พระองค์ท่าน 


นอกจากนี้ ราชสมาคมถ่ายภาพแห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Photographic Society of Great Britain) ได้กราบบังคมทูลเชิญให้ดำรงตำแหน่งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Honorary Fellow) และสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติ (Fediration International de l’Art Photographique) ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายเกียรติบัตรสูงสุด (Honorary Excellent FIAP) ด้วย



แหล่งที่มาของข้อมูล
http://thainews.prd.go.th/81th_king/index.html
http://www.cpc.ku.ac.th
http://www.ku.ac.th

เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยโดย
สยามกล้องฟิล์ม

 

 


Share this post



← Older Post Newer Post →